การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา เรื่อง สายพันธุ์เต่าทะเลในประเทศไทย คณะผู้จัดทำได้ศึกษาค้นคว้าเสนอเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
ชนิดของเต่าทะเลที่พบในประเทศไทย (Species found in Thailand)
การจำแนกเต่าทะเลตามหลักวิทยาศาสตร์ ดังนี้
Kingdom: Animalia
Phylum: Chordata
Class: Sauropsida
Order: Testudines
Suborder: Cryptodira
เต่าทะเลทั่วโลกพบจำานวน 8 ชนิดด้วยกัน แต่ที่พบในประเทศไทยมีเพียง 5 ชนิด (Species) จัด
อยู่ใน 2 วงค์ (Family) คือ
1) วงค์ Cheloniidae มีอยู่ 4 ชนิดด้วยกัน คือ
1.เต่าตนุ, Green turtle (Chelonia mydas, Linnaeus 1758)
ลักษณะเด่น: เกล็ดบนส่วนหัวตอนหน้า (Prefrontal scute) มี
จ านวน 1 คู่เกล็ดบนกระดองแถวข้าง (Costal scute) มี จ านวน 4 เกล็ด
เกล็ดแรกสุดไม่ติดกับเกล็ดขอบคอ (Nuchal scute) ลักษณะขอบของ
เกล็ดจะเชื่อมต่อกันไม่ซ้อนกัน สีสันและลวดลายสวยงาม โดยมีกระดอง
สีน้ าตาลอมเหลืองมีลายริ้วสีจางกว่ากระจายจากส่วนกลางเกล็ด จึงมีชื่อ
เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าเต่าแสงอาทิตย์
ขนาด: โตเต็มที่ความยาวกระดองประมาณ 150 เซนติเมตร
น้ าหนักถึง 200 กก. ขนาดโตถึงแพร่พันธุ์ได้ความยาวกระดองประมาณ 80 เซนติเมตร
อาหาร: เต่าตนุเป็นเต่าทะเลชนิดเดียวที่กินพืชเป็นอาหารเมื่อพ้นช่วงวัยอ่อนแล้ว อาหาร
หลักได้แก่ พวกหญ้าทะเลและสาหร่ายทะเลชนิดต่าง ๆ เต่าตนุในวัยอ่อนจะกินทั้งพืชและเนื้อสัตว์
การแพร่กระจาย: แหล่งวางไข่ของเต่าตนุพบมากในอ่าวไทย บริเวณเกาะคราม จ.
ชลบุรี เกาะกระ จังหวัดนครศรีธรรมราช ทางฝั่งทะเลอันดามันพบที่ เกาะหูยง ของหมู่เกาะสิมิลัน, เกาะ
สุรินทร์และหมู่เกาะตะรุเตา และพบประปรายหาดทรายฝั่งตะวันตกของจังหวัดภูเก็ตและจังหวัดพังงา
2. เต่ากระ, Hawksbill turtle (Erethmochelys imbricata, Linnaeus 1766)
ลักษณะเด่น: จะงอยปากค่อนข้างแหลมงุ้มคล้ายปากเหยี่ยว เกล็ดบนส่วนหัวตอนหน้า (Prefrontal scute, Pf) มี 2 คู่ เกล็ดบนหลัง แถวข้าง (Costal scute) มีจ านวนข้างละ 4 เกล็ด เกล็ดอันแรกไม่ชิดกับ เกล็ดขอบคอ (Nuchal scute) ลักษณะเด่นชัดคือ เกล็ดบนกระดองมี ลวดลายริ้วใสสวยงาม และลักษณะเกล็ดซ้อนกันเห็น ขนาด: โตเต็มที่ความยาวกระดองประมาณ 100 เซนติเมตร น้ าหนักประมาณ 120 กก. ขนาดโตถึงขั้นแพร่พันธุ์ได้ประมาณ 70 เซนติเมตร อาหาร: เต่ากระอาศัยอยู่ตามแนวปะการัง โดยเฉพาะเมื่อขนาดเล็กจะอาศัยตามชายฝั่ง น้ำตื้น กินสัตว์จ าพวกฟองน้ า, หอย และพวกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังต่าง ๆ การแพร่กระจาย: แหล่งวางไข่เต่ากระพบมากในอ่าวไทยที่เกาะคราม จ.ชลบุรี หมู่เกาะ ใกล้เคียง และพบกระจัดกระจายเล็กน้อย ที่หมู่เกาะตะรุเตา และเกาะสุรินทร์ ทางฝั่งทะเลอันดามัน
3. เต่าหญ้า, Olive Ridley Turtle (Lepidochelys olivacea, Eschscholtz 1829)
ลักษณะเด่น: กระดองเรียบสีเทาอมเขียว สีสันของกระดองไม่ สวยงามเท่าเต่ากระ และเต่าตนุ ส่วนหัวค่อนข้างโต จะงอยปากมนกว่า เต่าตนุ ที่แตกต่างกันชัดคือเกล็ดบนส่วนหัวตอนหน้า (Prefront scute) มีจ านวน 2 คู่ และเกล็ดบนกระดองหลังแถวข้าง (Costal scute) มี จ านวน 6-8 แผ่น ในขณะที่เต่ากระและเต่าตนุมีเพียง 4 แผ่น เกล็ดหลัง แถวข้างอันแรกชิดติดกับเกล็ดขอบคอ (Nuchal scute) และลักษณะ พิเศษของเต่าหญ้าคือกระดองส่วนท้องแถวกลาง (Inframarginal scale) มีรูส าหรับขับถ่ายหรือรูเปิดส าหรับประสาทรับความรู้สึก (ยังไม่ทราบระบบการท างานที่ชัดเจน) จ านวน 5 คู่ ขนาด: เต่าหญ้าเป็นเต่าทะเลที่มีขนาดเล็กที่สุด ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 75-80 เซ็นติเมตร ขนาดน้ าหนักถึง 80 กก. ขนาดโตเต็มที่สามารถแพร่พันธุ์ได้ ความยาวกระดองประมาณ ประมาณ 60-65 เซนติเมตร อาหาร : เต่าหญ้ากินพวก หอย ปู ปลา และกุ้ง เป็นอาหารจึงอาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเล ทั่วไป มีจะงอยปากใหญ่คมและแข็งแรง ส าหรับขบกัดปูและหอยที่มีเปลือกไม่แข็งมากกินเป็นอาหาร การแพร่กระจาย: แหล่งวางไข่เต่าหญ้าพบมากทางฝั่งทะเลอันดามัน บริเวณหาดทราย ฝั่งตะวันตกของจังหวัดภูเก็ต จังหวัดพังงา และหมู่เกาะต่างๆ ในทะเลอันดามัน ไม่พบเต่าหญ้าขึ้นวางไข่ฝั่ง อ่าวไทย
4. เต่าหัวฆ้อน, Loggerhead Turtle (Caretta caretta,
Linneaus 1758)
ลักษณะเด่น: ลักษณะทั่วๆ ไปคล้ายเต่าหญ้าและเต่าตนุมาก
ต่างกันที่เกล็ดบนส่วนหัว ตอนหน้า (Prefrontal scute) มีจ านวน 2 คู่
เท่ากับเต่าหญ้าแต่เกล็ดบนกระดองหลังแถวข้าง (Costal scute) มี
จ านวน 5 แผ่น และแผ่นแรกอยู่ชิดติดกับเกล็ดขอบคอ ลักษณะรูปทรง
ของกระดองหลังจะเรียวเล็กลงมาทางส่วนท้าย
8
อาหาร: เช่นเดียวกับเต่าหญ้าคือกินสัตว์จ าพวก กุ้ง หอย ปู ปลา เป็นอาหาร
การแพร่กระจาย: ในอดีตเคยมีรายงานพบเต่าหัวฆ้อนวางไข่ทางฝั่งทะเลอันดามัน แต่
ปัจจุบันไม่พบเต่าหัวฆ้อนขึ้นมาวางไข่อีกเลยตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งเข้าใจว่าคงจะสูญพันธุ์
ไปจากแหล่งวางไข่น่านน้ าไทยแล้ว แต่มีรายงานพบถูกจับด้วยเครื่องมือประมง และตายเกยตื้นทั้งฝั่งอ่าว
ไทยและฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งเข้าใจว่าเป็นประชากรเต่าทะเลจากแหล่งอื่น ของประเทศเพื่อนบ้านที่เข้ามา
อาศัยหรือหาอาหารในน่านน้ าไทย
2) วงศ์ Dermochelyidae. มีอยู่เพียงชนิดเดียวคือ
ลักษณะเด่น: เต่ามะเฟืองแตกต่างจากเต่าทะเลชนิดอื่นอย่าง
ชัดเจน ตรงที่มีขนาดใหญ่มาก จัดเป็นเต่าทะเลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดใน
โลก ลักษณะกระดองไม่เป็นเกล็ด มีลักษณะเป็นแผ่นหนังหนาสีด าอาจ
มีแต้มสีขาวประ ๆ ทั่วตัว กระดองเป็นสันนูนตามแนวความยาวจาก
ส่วนหัวถึงท้ายจ านวน 7 สัน (รวมขอบข้าง) ไม่มีเกล็ดปกคลุมส่วนหัว
จะงอยปากบนมีลักษณะเป็นหยัก 3 หยัก
ขนาด: ขนาดโตเต็มที่มีความยาวกระดองถึง 250 เซนติเมตร
น้ าหนักกว่า 1,000 กก. ขนาด ที่พบขึ้นมาวางไข่ไม่ต่ ากว่า 150 เซนติเมตร อาหาร: เต่ามะเฟืองอาศัยอยู่ในทะเลเปิด กินอาหารจ าพวกพืชและสัตว์ที่ล่องลอยตามน้ า
โดยอาหารหลักได้แก่ จ าพวกแมงกะพรุน
การแพร่กระจาย: เต่ามะเฟืองปัจจุบันมีจ านวนน้อยมาก พบขึ้นมาวางไข่บ้างบริเวณหาด
ทรายฝั่งทะเลอันดามัน ตะวันตกของไทย จังหวัดพังงา และจังหวัดภูเก็ต และหมู่เกาะตรุเตา ไม่เคยมี
รายงานพบเต่ามะเฟืองขึ้นวางไข่ในบริเวณอ่าวไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น